วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สอนการปรับภาพ Japanese Tone

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาสอนการปรับแต่งภาพสไตล์ Japanese Tone ที่กำลังฮิตอยู่ในปัจจุบันใครนึกไม่ออกดูภาพของ พิมฐาได้เลยครับ



หลายๆคนเข้าใจผิดว่าภาพแนวนี้คือ Minimalist ซึ่งจริงๆมันไม่ใช่ครับ มันคือภาพ Japanese Tone แล้วภาพ Portrait minimalist เป็นยังไง มาชมตัวอย่างกันครับ



จากตัวอย่าง น่าจะแยกให้เห็นได้ชัดพอสมควรนะครับว่า Minimalist กับ Japanese Tone ต่างกันอย่างไร
Japanese tone นั้นจะเล่นกับแสงและสีในภาพ เป็นการเน้นโทนสีทั้งภาพให้มีความคล้ายคลึงกัน





เรามาเริ่มกันเลยครับอย่างแรกหารูปที่จะแต่งมาครับ
รูปนี้ผมได้ถ่าย แคนดิดคุณลุงท่านนึงตอนไปญี่ปุ่นมา



เมื่อได้ภาพมาแล้วเรามาเริ่มปรับแต่งกันเลยครับโดยผมจะใช้โปแกรม Photoshop นะครับ


ไปที่เครื่องมือ Cruves ดั่งภาพก็จะมีเหมือนกราฟขึ้นมา

ลากกราฟด้านล่างซ้ายขึ้นไม่ต้องเยอะจะสังเกตุเห็นได้ว่าภาพเริ่มมีความแตกต่าง จากภาพแรกโดยการทำภาพแนวนี้นั้น จะมีจุดสังเกตุคือ สีดำจะดำไม่สนิท สีขาวจะขาวไม่สุด



ต่อไปคือการทำโทน ซึ่งในตอนที่ผมไปเป็นช่วงฤดูหนาวเลยอยากทำโทนให้ดูอบอุ่นหน่อยออก Warm จะเห็นได้ว่ามีกราฟเพิ่มขึ้นมา 3 เส้น 3 เส้นนั้นคือ RGB หรือ Red(แดง) Green(เขียว) Blue(ฟ้า)

ก็ปรับเลือนกราฟดั่งภาพที่ผมทำไว้ได้เลยครับ หรือจะลองปรับตามใจชอบก็ได้แต่อย่าลืมหลักสำคัญในการทำภาพแนวนี้คือ สีดำจะไม่ดำสนิท และสีขาวจะขาวไม่สุดจะออกเทาสว่าง



และนี่คือภาพเปรียบเทียบระหว่างก่อนแต่งภาพและหลังแต่งภาพครับ




วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สอนลบสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพ

วันนี้ผมจะมาสอนลบสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากภาพนะครับโดยการใช้โปรแกรม Photoshop บางคนที่ไม่เคยใช้ชอบคิดว่ามันยากแต่จริงๆแล้วมันไม่ได้ยากเลยครับมาดูกันเลย



เริ่มแรกเปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมา


ต่อมาเปิดรูปที่เราต้องการจะทำ ภาพนี้เป็นภาพที่ผมถ่ายเล่นๆระหว่างไปเที่ยวทะเลกับเพื่อน


ต่อมาเราต้องการจะลบคนที่กำลังขับเจ็ทสกีอยู่ออกไป

ไปที่เครื่องมือที่ชื่อว่า Spot healing brush tool


เสร็จแล้วก็ระบายบนจุดที่เราต้องการจะลบ




แค่ปล่อยเม้าส์ออกก็เป็นอันเสร็จสิ้น




เห็นไหมครับท่านผู้อ่านว่าการใช้โปรแกรม Photoshop ในการแต่งภาพนั้นไม่ยากเลย ขอเพียงแค่เลือกใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับสิ่งที่เราต้องการเพียงเท่านี้ก็จะง่ายต่อการใช้งาน

แล้วครั้งหน้าจะสอนอะไรต่ออย่าลืมติดตามนะครับ



วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย

ประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย



ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ. ศ. 2408 จอห์น ทอมสัน หรือ เจ. ทอมสัน ชาวอังกฤษ ได้นำกล้องถ่ายภาพซึ่งขณะนั้นใช้กระบวนการเวทเพลทเข้ามาถ่ายภาพในซีกโลกตะวันออก เขาได้บันทึกภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมถึงภาพพระราชพิธีโสกันต์รัชกาลที่ 5 ด้วย ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ในปี พ. ศ. 2450 ได้ถวายรูปนี้แก่พระองค์ด้วย ในหนังสือสยามประเทศ ซึ่งเป็นหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ฉบับประจำวันที่ 11 เมษายน พ. ศ. 2444 กล่าวว่า พระยาไทรบุรี ได้ส่งรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งกรุงชาวอังกฤษมาทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 3 แต่รัชกาลที่ 3 ไม่ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย ภายหลังรูปนี้นำไปติดไว้ที่ท้องพระโรง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้านทิศตะวันตก สมัยนั้นคนไทยเรียกว่า " รูปเจ้า วิลาด " แต่ต่อมาถูกปลดออกไปติดที่อื่น เมื่อ เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษจะเข้ามาทำสัญญาทรงพระราชไมตรีกับไทย ในปี พ. ศ. 2398 ซึ่งนับเป็นรูปถ่ายรูปแรกในเมืองไทย

ส่วนผู้ที่ถ่ายรูปในเมืองไทยเป็นคนแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ สังฆราช ปาเลอกัว ชาวฝรั่งเศส เคยอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ภายหลังย้ายไปครองวัด คอนเซ็บชัญ ใกล้ๆ วัดราชาธิวาส ซึ่งรัชกาลที่ 4 ผนวชอยู่ จึงเป็นที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน สังฆราชปาเลอกัวนี้อยู่เมืองไทยนานถึง 30 ปี ภายหลังจึงพิมพ์หนังสือพจนานุกรมเล่มใหญ่ 4 ภาษา ซี่งเป็นภาษาอังกฤษ ไทย ฝรั่งเศส และลาติน กล่าวกันว่า สังฆราชปาเลอกัว มีประดิษฐกรรมตระกูลเดียวกับกล้องถ่ายรูปที่เรียกว่า " ถ้ำมอง " ซึ่งใช้เป็นกลยุทธในการเผยแพร่ศาสนา เพราะไปที่ใดก็จะชักชวนผู้คนให้มาเข้าวัด โดยการเอา " ถ้ำมอง " นี้ ไปล่อให้คนมามุงดูรูปใน " ถ้ำมอง " ที่เชื่อว่า สังฆราชปาเลอกัว จะเป็นผู้ถ่ายรูปในเมืองไทยคนแรกนั้น เพราะเมื่อกลับไปฝรั่งเศสแล้ว สังฆราชปาเลอกัวยังได้พิมพ์หนังสือในฝรั่งเศสเรื่อง เล่าเรื่องเมืองสยาม พ. ศ. 2397 ในหนังสือเล่มนี้มีภาพลายเส้นของเมืองไทยถึง 20 ภาพ ซึ่งเชื่อได้ว่าวาดจากต้นฉบับ เพราะเหมือนกับภาพจริงมาก


สำหรับชาวไทยที่ถ่ายรูปในเมืองไทยเป็นคนแรก คือ พระยากระสาปน์ กิจโกศล หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล พระยากระสาปน์ กิจโกศลนี้ บรรดาศักดิ์ก่อนหน้าคือ
พระวิสูตรโยธามาตย์ มีบทความบทหนึ่งในหนังสือชื่อ Philadephia Photographer ที่ตีพิมพ์ ในปี พ. ศ. 2408 ซึ่งเอนก นาวิกมูล ได้รับจากสถาบันโซเนียน เมื่อปี พ. ศ 2526 กล่าวว่า เมื่อพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ส่งอุปกรณ์รูปถ่ายครบชุดมาถวายรัชกาลที่ 4 พระวิสูตรโยธามาตย์ ผู้นี้ก็สามารถถ่ายรูปโดยใช้กล้องถ่ายรูปนี้ได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่ไม่รู้จักภาษาอังกฤษเลย และพระวิสูตรยังได้ฝากรูปถ่ายของเมืองไทยไปกับพวกมิชชันนารี ให้หมอเฮาส์ ในอเมริกาดู บทความนี้ยังได้วิจารณ์ถึงความสามารถของคนไทยที่อยู่ในดินแดนที่ห่างไกล แต่ก็ยังถ่ายรูปได้อย่าง
ควรพอใจยิ่ง จริงๆ แล้วช่างถ่ายรูปในเมืองไทยที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมิใช่มีแต่พระยากระสาปน์กิจโกศล เท่านั้น บุคคลอื่นๆ เช่น พระปรีชากลการ หรือนายสำอาง อมาตยกุล ลูกชายของพระยากระสาปน์ กิจโกศล หลวงอัคนีนฤมิตร หรือนายจิตร ต้นตระกูลจิตราคนี หลวงอัคนีนฤมิตร นี้ เป็นช่างภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 นับเป็นช่างถ่ายรูปอาชีพคนแรก ที่ตั้งร้านถ่ายรูปในประเทศไทยเมื่อปี พ. ศ. 2406 อยู่ที่แพวัดซางตาครูซ รูปถ่ายที่นายจิตร หรือหลวงอัคนีนฤมิตร ถ่ายมีทั้งภาพบุคคล ภาพสถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ ภาพถ่ายที่ถ่ายจากร้านของท่านจะมีตราร้านอยู่ด้วย
ช่างภาพรุ่นแรกในเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง คือ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอของรัชกาลที่ 4 เป็นต้นตระกูล นิลรัตน์จอห์น ทอมสัน ชาวอังกฤษ ที่ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยได้บันทึกไว้ว่า ทรงเป็นผู้มีความใจดีในงานถ่ายรูป



จนมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เกิดมีร้านถ่ายรูปขึ้นหลายแห่ง ทั้งรัชกาลที่ 5 เองก็ทรงสนพระทัยในการถ่ายรูปอยู่มาก ทรงซื้อกล้องถ่ายรูปหลายชุด และยังมีกล้องถ่ายรูปติดพระหัตถ์เมื่อเสด็จประพาสที่ต่างๆ เสมอ ทั้งยังจัดให้มีการอวดรูป และประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วย ในปี พ. ศ. 2447 ในงานไหว้พระพุทธชินราช ณ วัดเบญจมบพิตร รูปที่รับเข้าแสดงมีทั้งรูปที่อัดลงกระดาษ และรูปกระจกที่จะต้องใส่ถ้ำมอง ที่เรียกว่า ตักสิโฟเต ( Taxiphote ) จนเมื่อเทคโนโลยีทางด้านการถ่ายรูปพัฒนามากขึ้น การถ่ายรูปในประเทศไทยก็เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้นเช่นในปัจจุบัน

ประวัติการถ่ายภาพ portrait



ประวัติของภาพ portrait น่าจะเริ่มตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มรู้จักการวาดเขียน ดังเช่นที่เราได้เห็นภาพวาดเหมือนของใบหน้าของคนตั้งแต่ยุคโบราณเช่น ในปิรามิด เป็นต้น ซึ่งเป็นการบันทึก เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบว่าคนรุ่นก่อนนั้นมีใบหน้าเช่นไร โดยที่การวาดภาพเพื่อบันทึกใบหน้าของคนนั้นมีการพัฒนามาโดยตลอดเวลา ให้ดูเหมือนจริงหรือบางครั้งก็ดูสวยหรือดูดีกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เมื่อมีการพัฒนาการวาดเขียนให้ความสวยงามก็มีพัฒนาการตามไปด้วย เช่นที่เราสามารถหาดูได้ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่เก็บสะสมภาพวาด เราจะเห็นได้ถึงความสำคัญของการสะสมภาพวาดของเหมือนของคนที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์และความสวยงามที่มีอยู่ในรูปเดียวกัน และการที่ให้ความสำคัญแก่ภาพวาดรูปเหมือนของบุคคลทำให้บางภาพที่มีชื่อเสียงดังทั่วโลกและมีราคาจนประเมินมิได้ เช่นภาพวาดของโมนาลิซ่า ที่ปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ เมืองปารีส ปะเทศฝรั่งเศส ภาพนี้เป็นภาพวาดโดยจิตรกรเอกนามว่า ลีโอนาโด ดาวินชี  เป็นภาพวาดใบหน้าของหญิงสาวที่อมยิ้มเล็กน้อยมีสายตาที่ทักทายเชิญชวนให้คนหันมาจ้องมองภาพนี้ได้นานๆ ด้านหลังของภาพเป็นวิวทิวทัศน์มี ภูเขา ต้นไม้และแม่น้ำอยู่ด้านหลัง


ภาพวาดรูปเหมือนของบุคคลภาษาอังกฤษเรียกว่า portrait นั้นในสมัยโบราณให้ความสำคัญอย่างมากไม่ว่าในสังคมตะวันตกและสังคมตะวันออก เพราะถือว่าเป็นการสร้างหลักฐานอย่างหนึ่งของการมีอยู่ของคน คนนั้นเพื่อให้คนรุ่นต่อมาในอนาคตได้เห็นได้รู้จักและสามรถแฝงนัยยะอื่นๆได้เช่น ต้องทำความดี ขยันหมั่นเพียร เพราะถือว่าคนที่ล่วงลับไปแล้วสามารถมองผ่านรูปเหมือนที่ติดไว้เตือนสติคนรุ่นต่อมาได้ ถือเป็นประโยชน์อีรูปแบบหนึ่งของภาพ portrait นอกจากที่ไว้เตือนลูกหลานแล้วรูปภาพ portrait ก็สามารถแสดงเรื่องอื่นๆได้อีกเช่น การแสดงฐานะที่มั่งคั่งได้จากภาพ portrait ได้ด้วย โดยที่สามารถให้เห็นถึงเครื่องประดับที่หรูหราหรือให้เห็นถึงบ้านช่องที่ใหญ่โต นับว่าภาพ portrait มีประโยชน์ด้วยกันหลากหลายๆอย่างนอกจากการที่แสดงให้เห็นตัวตนที่มีอยู่

ภาพถ่าย portrait ได้ถูกพัฒนาการตลอดมาในประวัติศาสตร์เพราะจากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งภาพ portrait ในสมัยโบราณนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมาก เพราะต้องจากจิตรกรที่เก่งและมีชื่อเสียงมาวาดซึ่งต้องเสียค่าจ้างที่มีราคาค่อนข้างสูงเพื่อให้ภาพที่ต้องการนั้นออกมาสวยงามเป็นที่น่าเก็บสะสม ซึ่งการใช้จิตรกรชื่อดังนั้นก็ต้องรอเป็นเวลานานเนื่องจากมีคนรอให้วาดเป็นจำนวนมากเพราะแต่ละภาพนั้นต้องใช้เวลาวาดค่อนข้างนาน ยิ่งถ้าภาพยี่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งต้องใช้เวลานาน จนเมื่อวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ก็ได้มีการคิดค้นกล้องถ่ายภาพเกิดขึ้นมีการสร้าง กล้อง เลนซ์ และวิธีการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ได้ โดยที่การพัฒนาการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ได้ ของการถ่ายภาพผู้ที่คิดค้นการบันทึกและเก็บภาพถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพคือนาย Louis-Jacques-mande Daguerre ที่คิดค้นการบันทึกภาพได้ ซึ่งเราเรียกชื่อระบบการบันทึกภาพแบบนี้ว่า ระบบดาร์แกร์ ( Daquerre ) ตามชื่อผู้ที่คิดค้นนั้นเอง   และการถ่ายภาพ portrait ก็เกิดขึ้นครั้งแรกในปี คศ.1839 คือภาพถ่าย portrait ของนาย Louis-Jacques-mande Daguerre นั้นเอง หลังจากนั้นเป็นต้นมาความนิยมในการใช้ภาพถ่ายก็มีอย่างแพร่หลาย เนื่องจากภาพถ่ายนั้นใช้งานได้สะดวกอีกทั้งเป็นการบันทึกภาพจากของจริง การใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพนั้นก็ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เทคนิคการบันทึกภาพได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวหน้ามากจนทำให้เกิดฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพที่ทำให้ออกมาเป็น ภาพเนกาทีฟซึ่งใช้การอย่างแพร่หลายเป็นเวลานาน จนเมื่อเกิดกล้องถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัลจึงทำให้การถ่ายภาพด้วยฟิล์มลดความนิยมลงไป





จะเห็นได้ว่าการถ่ายภาพเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว ได้ภาพที่เหมือนจริง ไม่ต้องนั่งรอจิตรกรมานั่งวาดภาพเหมือนให้ อีกทั้งราคาก็ย่อมเยาว์กว่า จึงทำให้มีการเปิดสตูดิโอและร้านรับถ่ายภาพ portrait กันตามเมืองใหญ่ในโลกอย่างแพร่หลาย  หลังจากมีการพัฒนาการของระบบการถ่ายภาพดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนประวัติการถ่ายภาพในเมืองไทย น่าจะเริ่มในสมัยของ รัชกาลที่ 3 โดยมีภาพถ่ายภาพแรกที่พระยา ไทรบุรีได้ส่งรูปพระราชินีวิคตอเรียเข้ามาถวาย รัชกาลที่ 3 แต่รัชกาลที่ 3 ไม่ทรงเชื่อ และหลังจากนั้น ก็มีสังฆราชปาเลอกัว แห่งวัดอัสสัมชัญ ได้เข้ามาบันทึกภาพถ่ายเป็นคนแรกในเมืองไทย สำหรับช่างถ่ายภาพคนแรกที่เป็นคนไทยคือ พระยากระสาปน์ กิจโกศล ต้นตระกูล อมาตยกุล ท่านผู้นี้มีความสามารถอย่างมากที่สามารถใช้กล้องถ่ายภาพที่พระราชินีวิคตอเรียส่งมาถวาย รัชกาลที่ 4 ใช้ถ่ายภาพได้โดยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย นอกจากนี้ช่างถ่ายภาพที่น่ากล่าวถึงอีกท่านคือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร ต้นตระกูล จิตราคนี ช่างถ่ายภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4และ 5 นับเป็นช่างถ่ายภาพอาชีพคนแรกที่เป็นคนไทย ซึ่งนอกจากเป็นช่างถ่ายภาพหลวงแล้วยังเปิดรับถ่ายภาพ portrait โดยที่ร้านรับถ่ายภาพหรือสตูดิโออยู่บนแพหน้าวัดซางตาครูซ  ซึ่งนับเป็นร้านรับถ่ายภาพร้านแรกของเมืองไทยเช่นกัน



จากประวัติศาสตร์ของภาพ portrait จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการจากการวาดภาพมาเป็นการถ่ายภาพที่นิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสำคัญของภาพ portrait ที่สามารถใช้แทนนัยยะต่างๆได้หลากหลายอย่าง ตั้งแต่แสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองนั้นๆ หรือแสดงให้เห็นถึงฐานะและความมั่งคั่ง หรือความสวยงาม,มีฐานะบรรดาศักดิ์สูงส่ง เป็นต้น ที่ภาพ portrait สามารถบอกหรือแสดงออกมาให้เห็นได้ ซึ่งภาพหรือภาพถ่าย portrait ที่มีส่วนประกอบภายในภาพนั้นเพื่อให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนคนนั้นเราจะเรียกว่า environmental portrait ซึ่งภาพหรือภาพถ่าย portrait ส่วนมากก็จะเป็นลักษณะนี้เกือบหมด โดยที่เป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว