บทสังเกตุการณ์


สัมภาษณ์คุณ เกตศริต ทองวิเศษ เรื่องการถ่ายภาพ




สัมภาษณ์ วันที่ 9 กรกฏาคม 2559



ถอดเทป

ผม:คุณต้นเริ่มมาถ่ายภาพได้อย่างไรครับ

คุณต้น:ย้อนกลับไปสมัย คุณปู่เป็นครูสอนถ่ายภาพและคุณปู่ได้สอนคุณพ่อจนมาถึงคุณต้น

ผม:คุณต้นชอบถ่ายภาพแนวไหนเป็นพิเศษครับ

คุณต้น:ชอบถ่ายภาพแนว Portrait ครับ

ผม:ทำไมถึงชอบถ่ายภาพแนว Portrait ครับมันมีอะไรน่าสนใจกว่าพวกถ่ายวิว

คุณต้น:มันแตกต่างกันมากๆครับเพราะการถ่ายภาพ Portrait นั้นเป็นการถ่ายภาพบุคคลเพราะเราจะต้องสื่อให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกของแบบที่มีชีวิต และคนนั้นมีชีวิตและอารมณ์ที่หลากหลายมากเราสามารถส่งต่อความรู้สึกบางอย่างไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางมือ ทางสีหน้าจากแบบ

ผม:คุณต้นช่วยแนะนำกล้องที่จะนำมาถ่ายกับภาพแนว Portrait หน่อยครับ

คุณต้น:จริงๆมันไม่สำคัญว่าเราใช้กล้องอะไรนะครับ จริงๆใช้กล้องอะไรก็ได้ในการถ่ายภาพแนวนี้ เพราะการถ่ายภาพ Portrait นั้นคือการสื่อสารยังไงกับคนดูเราอยากให้แบบส่งทอดความรู้สึกยังไงให้กับคนดูเห็น เรื่องกล้องมันเป็นประเด็นรองว่าเราต้องการคุณภาพของภาพขนาดไหนเพราะว่าถ้าถ่ายภาพเป็นอาชีพก็อาจจะต้องใช้กล้องดีหน่อย

ผม:นอกจากกล้องและเลนส์มีอะไรที่เราควรจะต้องใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพ Portrait อีก

คุณต้น: อย่างแรกคือ รีเฟล็กครับเพราะว่าเราต้องการสะท้อนแสงเข้าของตัวแบบเพราะแสงแต่ละวันมันไม่เหมือนกันอยู่แล้วเราไม่สามารถกำหนดแสงของแต่ละวันได้ อย่างที่สองที่ควรจะมีคือแฟลช เพื่อทำให้เกิดลูกเล่นต่างๆกับตัวแบบและมากไปกว่านั้นควรจะต้องมี Softbox เพื่อที่จะลดความแรงของแฟลชเพื่อให้แสงนุ่มขึ้นเมื่อยิงไปที่ตัวแบบ จริงที่จำเป็นก็มีเท่านี้ครับ นอกเหนือจากนี้คือเราอยากได้ลูกเล่นที่หลากหลาย เช่นถ้าเราอยากให้มีความฟุ้งก็หาถุงพลาสติกมาคลุมเลนส์ก็จะทำให้ขอบภาพเกิดการฟุ้ง

ผม:คุณต้นใช้เวลาในการฝึกฝนนานไหมครับ

คุณต้น:ก็ตั้งแต่เริ่มจับกล้องเลยครับ มันเป็นสิ่งที่เราต้องจับต้องทุกวันใช้มันทุกวันฝึกฝนทุกวันให้มันเป็นเหมือนอวัยวะส่วนหนึ่งของเราเหมือนโทรศัพท์ของเราที่พกไปทุกที่ทุกเวลาและมันจะเพิ่มประสบการณ์ให้เรา ถึงแม้เราจะไม่ได้ถ่ายภาพในวันนั้นก็ตามแต่ก็ต้องพกไป

คุณต้น:ขอเสริมนิดนึงครับว่าทำไมบางคนถึงเบื่อในการถ่ายภาพซื้อมาแล้ววางกล้องทิ้งไว้ เพราะบางคนคิดว่าการถ่ายภาพนั้นง่ายแค่กดๆแต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ มันต้องเริ่มมาจากกระบวนการคิดของเราว่าเราอยากได้ภาพแบบไหนแล้วจึงถ่ายภาพ


สรุปบทความสิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์ : คุณต้นได้พูดให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพไปพอสมควรและการที่เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพหรืออื่นๆเราก็ต้องมีความพยายามทำมันมุ่งมั่นตั้งใจ อย่าท้อถอยไปเสียก่อน


สิ่งที่คุณต้นพูดถึงในคลิปวีดีโอ


Reflector = รีเฟล็ก 

คุณสมบัติของ Reflector แต่ละสี (เงิน ทอง ขาวและดำ) สีทอง เป็นสีที่ให้ผลลัพธ์ของแสงสะท้อนได้ดี ผลลัพธ์จะดูอบอุ่นกว่าสีอื่นๆ สีเงิน เป็นสีที่ให้ผลลัพธ์ของแสงสะท้อนดีมาก 

ช่างภาพส่วนใหญ่นิยมใช้ สีขาว เหมาะสำหรับการใช้เพื่อลบเงา และผลลัพธ์ที่ดีก็คือ ไม่ก่อให้เกิดความมันเงา สีดำ เป็นสีที่แตกต่างจากสีอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง เป็นไม่ได้ทำหน้าเพิ่มแสง แต่กลับทำหน้าที่ดูดซับแสง เพื่อลดการสะท้อนแสงให้อีกต่างหาก 

ช้อเสียของ Reflector ไม่สามารถควบคุมความแรงหรือเบา ของแสงสะท้อน แสบตา โดยเฉพาะกับการใช้ Reflector สีเงินหรือสีทอง



Flash = แฟลช







Softbox = ซอฟบ็อก

ใช้เพื่อ Softbox เป็นการกระจายทิศทางของแสงให้เปลี่ยนไปจากเดิม แต่หลายๆคนเข้าใจผิดว่ามันลดความแรงของ Flash ซึ่งจริงๆไม่ใช่








ตัวอย่างภาพถ่ายของคุณต้น
















---------------------------------------------------------------------------------
สัมภาษณ์อาจารย์ สุขเกษม อุยโต เรื่องการถ่ายภาพ



สัมภาษณ์ วันที่ 9 กรกฏาคม 2559

ถอดเทป

ผม:ก่อนอื่นรบกวนช่วยแนะนำตัวก่อนครับ

อาจารย์:ครับ ผมอาจารย์สุขเกษม อุยโต ประจำอยู่สาขาวิชาศิลปะภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ

ผม:อาจารย์เริ่มมาถ่ายภาพได้อย่างไรครับครั้งแรก ทำไมอาจารย์ถึงชอบเกี่ยวกับด้านนี้ครับ

อาจารย์: จริงๆผมก็ไม่ได้ชอบหรอกครับตอนแรก เมื่อตอนผมวัยรุ่นมีคนได้ให้กล้องผมมา และได้ถูกมอบหมายให้ถ่ายรูป และตอนนั้นผมก็ไม่มีความรู้เลย ได้ไปหาที่เรียนจนทำให้ผมรู้สึกชอบมันและก็ได้มาเป็นอาจารย์ในที่สุด

ผม:อะไรที่ทำให้อาจารย์ถ่ายภาพมานานถึงปัจจุบันครับ

อาจารย์:พอผมได้เรียนแล้วรู้สึกว่าการถ่ายภาพเนี่ยมันมีอะไรลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายให้สนุก และมันสามารถสื่อสารได้สามารถใช้ในงานได้หลากหลาย

ผม:รบกวนครูช่วยเล่าหน่อยครับว่า ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพในประเทศไทยมันเข้ามาได้อย่างไร

อาจารย์:ต้องย้อนไปตั้งแต่ รัชกาลที่ 3 ซึ่งตอนนั้นบ้านเราเริ่มติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีกองเรือสำเภามาจากต่างประเทศโดยการถ่ายภาพนั้นถูกเข้ามากับพวกหมอสอนศาสนา คือ มิชชันนารี โดยในยุคนั้นพวก มิชชันนารี จะเข้ามาโดยการติดต่อกับพวกขุนนางชั้นสูง หรือ ข้าราชบริพารชั้นสูง ที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ และพวกเขาก็ได้เขาไปในวังไปถ่ายภาพพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการเผยแพร่ศาสนาของพวกเขา เนื่องจากมีรูปภาพคอยยืนยันว่าได้ถ่ายภาพกับกษัตริย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและพวกมิชชันนารีนั้น นำการถ่ายภาพมาเพื่อรู้จักกับคนในสังคมไทยแล้วทีนี้พวกคุณนางชั้นสูงก็ได้เรียนรู้การถ่ายภาพจากพวกมิชชันนารี หลังจากนั้นก็มีคนไทยนำมาประยุกต์ใช้เป็นอาชีพ จนมาถึงรัชกาลปัจจุบัน

ผม:ประวัติในการถ่ายภาพบุคคลมันมีวิวัฒนาการมาจากภาพวาดถูกไหมครับ

อาจารย์:มาจากภาพวาด ในต่างประเทศอาจจะใช่นะครับช่วงก่อนมีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ เป็นการวาดภาพ Siluate (ภาพขาวดำ) พอมีการถ่ายภาพก็เริ่มใช้การถ่ายภาพแทนการวาดภาพ Siluate บนกระดาษ การถ่ายภาพในยุคแรกๆก็เริ่มเอาไปถ่ายคนเป็นหลักเพราะการเอาไปถ่ายวิวหรือถ่ายอย่างอื่นมันลำบากเพราะกล้องใหญ่มากๆสมัยก่อนและกว่าจะบันทึกภาพได้นั้นใช้เวลาหลายนาทีและต้องถ่ายในสตูดิโอเท่านั้น สตูดิโอจะเปิดกว้างโล่งให้แสงเข้ามาทุกทางเป็นห้องกระจก

สรุปบทความสิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์ : จริงๆแล้วการถ่ายภาพนั้นเริ่มมาจากการถ่ายภาพบุคคลเป็นอันดับแรกเลย อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวอธิบายไว้ในคลิปวีดีโอและการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้นมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เริ่มมาจากการถ่ายภาพบุคคลเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น