วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประวัติการถ่ายภาพ portrait



ประวัติของภาพ portrait น่าจะเริ่มตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มรู้จักการวาดเขียน ดังเช่นที่เราได้เห็นภาพวาดเหมือนของใบหน้าของคนตั้งแต่ยุคโบราณเช่น ในปิรามิด เป็นต้น ซึ่งเป็นการบันทึก เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบว่าคนรุ่นก่อนนั้นมีใบหน้าเช่นไร โดยที่การวาดภาพเพื่อบันทึกใบหน้าของคนนั้นมีการพัฒนามาโดยตลอดเวลา ให้ดูเหมือนจริงหรือบางครั้งก็ดูสวยหรือดูดีกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เมื่อมีการพัฒนาการวาดเขียนให้ความสวยงามก็มีพัฒนาการตามไปด้วย เช่นที่เราสามารถหาดูได้ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆที่เก็บสะสมภาพวาด เราจะเห็นได้ถึงความสำคัญของการสะสมภาพวาดของเหมือนของคนที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์และความสวยงามที่มีอยู่ในรูปเดียวกัน และการที่ให้ความสำคัญแก่ภาพวาดรูปเหมือนของบุคคลทำให้บางภาพที่มีชื่อเสียงดังทั่วโลกและมีราคาจนประเมินมิได้ เช่นภาพวาดของโมนาลิซ่า ที่ปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ เมืองปารีส ปะเทศฝรั่งเศส ภาพนี้เป็นภาพวาดโดยจิตรกรเอกนามว่า ลีโอนาโด ดาวินชี  เป็นภาพวาดใบหน้าของหญิงสาวที่อมยิ้มเล็กน้อยมีสายตาที่ทักทายเชิญชวนให้คนหันมาจ้องมองภาพนี้ได้นานๆ ด้านหลังของภาพเป็นวิวทิวทัศน์มี ภูเขา ต้นไม้และแม่น้ำอยู่ด้านหลัง


ภาพวาดรูปเหมือนของบุคคลภาษาอังกฤษเรียกว่า portrait นั้นในสมัยโบราณให้ความสำคัญอย่างมากไม่ว่าในสังคมตะวันตกและสังคมตะวันออก เพราะถือว่าเป็นการสร้างหลักฐานอย่างหนึ่งของการมีอยู่ของคน คนนั้นเพื่อให้คนรุ่นต่อมาในอนาคตได้เห็นได้รู้จักและสามรถแฝงนัยยะอื่นๆได้เช่น ต้องทำความดี ขยันหมั่นเพียร เพราะถือว่าคนที่ล่วงลับไปแล้วสามารถมองผ่านรูปเหมือนที่ติดไว้เตือนสติคนรุ่นต่อมาได้ ถือเป็นประโยชน์อีรูปแบบหนึ่งของภาพ portrait นอกจากที่ไว้เตือนลูกหลานแล้วรูปภาพ portrait ก็สามารถแสดงเรื่องอื่นๆได้อีกเช่น การแสดงฐานะที่มั่งคั่งได้จากภาพ portrait ได้ด้วย โดยที่สามารถให้เห็นถึงเครื่องประดับที่หรูหราหรือให้เห็นถึงบ้านช่องที่ใหญ่โต นับว่าภาพ portrait มีประโยชน์ด้วยกันหลากหลายๆอย่างนอกจากการที่แสดงให้เห็นตัวตนที่มีอยู่

ภาพถ่าย portrait ได้ถูกพัฒนาการตลอดมาในประวัติศาสตร์เพราะจากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งภาพ portrait ในสมัยโบราณนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมาก เพราะต้องจากจิตรกรที่เก่งและมีชื่อเสียงมาวาดซึ่งต้องเสียค่าจ้างที่มีราคาค่อนข้างสูงเพื่อให้ภาพที่ต้องการนั้นออกมาสวยงามเป็นที่น่าเก็บสะสม ซึ่งการใช้จิตรกรชื่อดังนั้นก็ต้องรอเป็นเวลานานเนื่องจากมีคนรอให้วาดเป็นจำนวนมากเพราะแต่ละภาพนั้นต้องใช้เวลาวาดค่อนข้างนาน ยิ่งถ้าภาพยี่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งต้องใช้เวลานาน จนเมื่อวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ก็ได้มีการคิดค้นกล้องถ่ายภาพเกิดขึ้นมีการสร้าง กล้อง เลนซ์ และวิธีการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ได้ โดยที่การพัฒนาการเก็บภาพที่ถ่ายไว้ได้ ของการถ่ายภาพผู้ที่คิดค้นการบันทึกและเก็บภาพถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพคือนาย Louis-Jacques-mande Daguerre ที่คิดค้นการบันทึกภาพได้ ซึ่งเราเรียกชื่อระบบการบันทึกภาพแบบนี้ว่า ระบบดาร์แกร์ ( Daquerre ) ตามชื่อผู้ที่คิดค้นนั้นเอง   และการถ่ายภาพ portrait ก็เกิดขึ้นครั้งแรกในปี คศ.1839 คือภาพถ่าย portrait ของนาย Louis-Jacques-mande Daguerre นั้นเอง หลังจากนั้นเป็นต้นมาความนิยมในการใช้ภาพถ่ายก็มีอย่างแพร่หลาย เนื่องจากภาพถ่ายนั้นใช้งานได้สะดวกอีกทั้งเป็นการบันทึกภาพจากของจริง การใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพนั้นก็ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เทคนิคการบันทึกภาพได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวหน้ามากจนทำให้เกิดฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพที่ทำให้ออกมาเป็น ภาพเนกาทีฟซึ่งใช้การอย่างแพร่หลายเป็นเวลานาน จนเมื่อเกิดกล้องถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัลจึงทำให้การถ่ายภาพด้วยฟิล์มลดความนิยมลงไป





จะเห็นได้ว่าการถ่ายภาพเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว ได้ภาพที่เหมือนจริง ไม่ต้องนั่งรอจิตรกรมานั่งวาดภาพเหมือนให้ อีกทั้งราคาก็ย่อมเยาว์กว่า จึงทำให้มีการเปิดสตูดิโอและร้านรับถ่ายภาพ portrait กันตามเมืองใหญ่ในโลกอย่างแพร่หลาย  หลังจากมีการพัฒนาการของระบบการถ่ายภาพดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนประวัติการถ่ายภาพในเมืองไทย น่าจะเริ่มในสมัยของ รัชกาลที่ 3 โดยมีภาพถ่ายภาพแรกที่พระยา ไทรบุรีได้ส่งรูปพระราชินีวิคตอเรียเข้ามาถวาย รัชกาลที่ 3 แต่รัชกาลที่ 3 ไม่ทรงเชื่อ และหลังจากนั้น ก็มีสังฆราชปาเลอกัว แห่งวัดอัสสัมชัญ ได้เข้ามาบันทึกภาพถ่ายเป็นคนแรกในเมืองไทย สำหรับช่างถ่ายภาพคนแรกที่เป็นคนไทยคือ พระยากระสาปน์ กิจโกศล ต้นตระกูล อมาตยกุล ท่านผู้นี้มีความสามารถอย่างมากที่สามารถใช้กล้องถ่ายภาพที่พระราชินีวิคตอเรียส่งมาถวาย รัชกาลที่ 4 ใช้ถ่ายภาพได้โดยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย นอกจากนี้ช่างถ่ายภาพที่น่ากล่าวถึงอีกท่านคือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร ต้นตระกูล จิตราคนี ช่างถ่ายภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4และ 5 นับเป็นช่างถ่ายภาพอาชีพคนแรกที่เป็นคนไทย ซึ่งนอกจากเป็นช่างถ่ายภาพหลวงแล้วยังเปิดรับถ่ายภาพ portrait โดยที่ร้านรับถ่ายภาพหรือสตูดิโออยู่บนแพหน้าวัดซางตาครูซ  ซึ่งนับเป็นร้านรับถ่ายภาพร้านแรกของเมืองไทยเช่นกัน



จากประวัติศาสตร์ของภาพ portrait จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการจากการวาดภาพมาเป็นการถ่ายภาพที่นิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสำคัญของภาพ portrait ที่สามารถใช้แทนนัยยะต่างๆได้หลากหลายอย่าง ตั้งแต่แสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองนั้นๆ หรือแสดงให้เห็นถึงฐานะและความมั่งคั่ง หรือความสวยงาม,มีฐานะบรรดาศักดิ์สูงส่ง เป็นต้น ที่ภาพ portrait สามารถบอกหรือแสดงออกมาให้เห็นได้ ซึ่งภาพหรือภาพถ่าย portrait ที่มีส่วนประกอบภายในภาพนั้นเพื่อให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนคนนั้นเราจะเรียกว่า environmental portrait ซึ่งภาพหรือภาพถ่าย portrait ส่วนมากก็จะเป็นลักษณะนี้เกือบหมด โดยที่เป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น